Last updated: 23 เม.ย 2562 | 2486 จำนวนผู้เข้าชม |
คุณแม่หลังคลอดหลายท่านอาจมองข้ามความสำคัญของการทานอาหาร เพราะคิดว่าตอนที่ตั้งครรภ์บำรุงหรือดูแลเรื่องโภชนาการเต็มที่แล้ว...แต่ในความเป็นจริงอาจจะมองข้ามความสำคัญการดูแลตัวเองเพื่อให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้น และอาจจะช่วยให้มีน้ำนมมากขึ้นอีกด้วย ดังน้นควรจะเลือกรับประทานให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายให้มากที่สุด โดยจะมีหลักๆที่ควรคำนึงถึคือ...
1. ควรเป็นอาหารที่มีความอุ่น: ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรือ เครื่องดื่มต่างๆ ควรจะมีความอุ่น(แต่ไม่ต้องถึงกับร้อนจัด) กรณีเป็นน้ำเปล่าควรจะเป็นน้ำต้มสุก โดยพยายามเลี่ยงอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีลักษณะเย็นจัดให้มากที่สุด เพราะการดื่มน้ำเย็นจัด อาจทำให้กระเพาะอาหารทำงานหนักมากขึ้น จะส่งผลเสียต่อร่างกายได้
2. ควรเป็นอาหารจำพวกหวาน(แต่ควรเป็นความหวานจากธรรมชาติ): อาจเน้นพวกผลไม้รสหวาน เช่น อินทผาลัม ลูกเกด เพราะเป็นช่วงที่คุณแม่ต้องพลังงานมาก รวมถึงในทางอายุรเวท อาหารหวานจะช่วยสร้างเซลล์เนื้อเยื่อในร่างกาย ซึ่งเป็นเหตุผลที่คุณแม่ต้องการรสหวานในช่วงที่ร่างกายสร้างน้ำนมให้กับลูกน้อยด้วย โดยการปรุงแต่งอาหารหวานสำหรับคุณแม่ควรเป็นน้ำตาลดิบ เช่น น้ำตาลอ้อย น้ำตาลทรายแดง หรือจะเป็นน้ำผึ้ง และควรเลี่ยงน้ำตาลฟอกขาว
3. ควรเป็นอาหารเบาๆ กลืนง่าย: คุณแม่หลังคลอดควรจะทานอาหารที่ย่อยง่าย หรือพวกของเหลว เช่น โจ๊ก ข้าวต้มนิ่มๆ เพื่อให้ร่างกายดูดซึมได้ง่าย เพื่อให้ร่างกายได้รับคุณค่าอาหารได้อย่างเต็มที่ และยังช่วยไม่ให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นด้วย และควรจะมีอาหารประเภทกลืนง่าย(จากน้ำมันและกรดไขมันธรรมชาติ) เพราะในระบบย่อยอาหารจะอยู่ในสภาวะที่ค่อนข้างแห้ง อาหารประเภทดังกล่าว จะช่วยหล่อลื่นอวัยวะและเซลล์ต่างๆ ในระบบย่อยอาหาร
4. อาหารประเภทธรรมชาติ: ปราศจากสารเคมีให้มากที่สุด เช่น ผงชูรส สีสังเคราะห์ สารกันบูด ควรเป็นอาหารแท้ๆจากธรรมชาติ หรือเลือกที่จะปรุงเองที่บ้าน เพื่อเลี่ยงอาหารกระป๋องหรืออาหารที่ผ่านกระบวนการ เพราะจะเป็นอาหารที่ด้อยคุณค่าหรือปราศจากประโยชน์ รวมถึงหากทานอาหารดังกล่าวมากๆอาจสะสมจนเป็นพิษต่อร่างกายได้
5. มีรสชาติกลางๆไม่รสจัดเกินไป: เพราะอาหารประเภทรสจัดจำพวกพริกหรือเค็มจัด ไม่ได้ช่วยให้ร่างกายเสริมสร้างเซล์ใหม่ รวมถึงรสจัดจำพวกพริกที่เผ็ด หรือความเค็มจากเกลือ อาจซึมเข้าสู่น้ำนมและส่งผลให้เจ้าตัวน้อยเกิดภาวะท้องเสียและแสบก้นเวลาขับถ่ายได้เมื่อดูดน้ำนมจากแม่ โดยพยายามทานอาหารรสกลางๆให้มากที่สุดเพื่อสุขภาพของคุณแม่และลูกน้อย
6. มีความสดใหม่ไม่ค้างเป็นเวลานาน: อาจเป็นอาหารที่ทำสดใหม่ เลี่ยงอาหารประเภทแช่แข็งและนำมาเข้าไมโครเวฟ เพราะคุณค่าทางอาหารจะน้อยลงไปมาก กรณีไม่มีเวลาปรุงอาหารเอง ก็อาจเลือกซื้ออาหารในบริเวณไม่ไกลจากที่พักอาศัย เพื่อความสดใหม่และคงคุณค่าของอาหาร
Healthy Tip: ควรประกอบอาหารแบบใช้เตาไฟแบบเป็นไฟจริงๆ หรืออาจใช้เตาไฟฟ้า ไม่ควรใช้เตาไมโครเวฟมาประกอบอาหาร เนื่องจากรังสีของคลื่นไมโครเวฟจะรบกวนพลังในอาหาร และอาจทำลายคุณค่าทางอาหารได้ และไม่ควรรับประทานอาหารที่เก็บรักษาไว้ในตู้เย็น ในช่วงพักฟื้นร่างกายหลังคลอดนี้
*ขอบคุณข้อมูลจาก Momypedia เรียบเรียงโดย www.earsaireasy.com
28 เม.ย 2559
26 ม.ค. 2558
26 ต.ค. 2567